วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 3 August 25.2015


                   

                     
          1.ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

 อาจารย์ได้แนะนำวิธีการจัดทำ blogger ให้ถูกต้องสวยงามตามวิธีให้ดูง่ายขึ้น 
ข้อมูลที่ความใส่และสิ่งที่หน้าสนใจในการตกแต่งอาจารย์ได้พานักศึกษาไปค้นคว้าหาความรู้ที่ห้องสมุดโดยให้ไปหาความรู้หนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทีสามารถนำมาปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้   


                    เรื่องที่ 11 บทที่ 14 เรื่องเสียง  (Sounds) (คู่กับ ปัณฑิตา คล้ายสิงห์)





บทนี้เกิดขึ้นจะกล่าวถึงความคิดรวบยอดต่อไปนี้

1.เสียงเกิดขึ้นเมื่อมีการสั่นสะเทือนของของบางอย่าง

2.เสียงเดินผ่านตัวกลางหลายอย่าง
3.สิ่งที่สั่นสะเทือนซึ่งมีขนาดต่างกันทำให้เกิดเสียงต่่างกัน








กิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเข้าใจความหมายของคำว่า การสั่นสะเทือน และทำให้เกิดความคิดว่าการสั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียงจากนั้นจะเป็นกิจกรรมที่เกียวกับการสั่นสะเทือนการทดลองที่กับการที่เสียงเดินทางผ่านและระดับสูง-ต่ำของเสียงที่เปลี่ยนไปตามขนาดสิ่งที่สะเทือน

การสั่นสะเทือน กริยาของมือที่ทำอยู่เช่น การสั่น สะบัด เขย่า พลิกไปพลิกมา


                                        ความคิดรอบยอด


  ความคิดรอบยอด : เสียงเกิดขึ้นเมื่อมีการสั่นสะเทือนของของบางอย่าง


1.เวลาที่เราเห็นของบางอย่างสั่นสะเทือนนั้นเกิดอะไรขึ้น

จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้รู้ความหมายของคำว่า การสั่นสะเทือน โดยการทดลองทำการสังเกต

2.ขณะที่เรารู้สึกว่ามีการสั่นสะเทือนนั้นเกิดอะไรขึ้น 

จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้รู้ความหมายของคำว่า การสั่นสะเทือน โดยการทดลองทำการสัมผัส


ความคิดรอบยอด : เสียงเดินทางผ่านตัวกลางหลายอย่าง

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าเสียงเดินทางผ่านอากาศ
   จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้เห็นว่าการสั่นสะเทือนของเสียงทำให้อากาศสั่นสะเทือน เพื่อให้เห็นเดินทางผ่านอากาศ 

2. เรารู้ได้อย่างไรว่าเสียงเดินทางผ่านทางน้ำ    

 จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้ทราบการสั่นสะเทือนของเสียงทำให้น้ำสั่นสะเทือนเพื่อให้เสียงเดินทางผ่านน้ำ

3.เรารู้ได้อย่างไรว่าเสียงเดินทางผ่านทางของแข็ง

จุดประสงค์การเรียนรู้:เพื่อให้ทราบการสั่นสะเทือนของเสียงทำให้ของเสียงทำให้ของแข็งสั่นสะเทือน เพื่อให้เสียงเดินทางผ่านแข็ง

4.เชือกให้เสียงเดินทางผ่านได้อย่างไร

 จุดประสงค์การเรียนรู้ :  เพื่อให้ทราบการสั่นสะเทือนของเสียงทำให้เชือกที่ตึงสั่นสะเทือนทำให้เสียงผ่านได้

ความคิดรอบยอด ; การสั่นสะเทือนจากวัตถุที่มีขนาดต่างกันจะทำให้เกิดเสียงที่ต่างกัน


1.ความสั้นยาวของเชือกที่สั่นสะเทือน ทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันอย่างไร

จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้ได้ยินระดับเสียงสูงต่ำที่แตกต่างกันตามขนาดความสั้นยาวของเชือกที่สั่นสะเทือน

2.ขนาดสั้นยาวของท่ออากาศศที่สั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันอย่างไร

จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อให้ได้ยินระดับเสียงสูงต่ำที่แตกต่างกันตามขนาดความยาวของเชือกที่อา
กาศสั่นสะเทือน

                                          กิจกรรมบูรณาการ




กิจกรรมการเล่น

โทรศัพท์ที่ทำจากกระป๋องจะทำให้ดูน่าสนใจมากขึ้น






 กิจกรรมการฟัง
จับคู่เสียง  หาของที่ทำให้เกิดเสียงโดยจัดมาหาไว้เป็นคู่ๆ เช่น ขดลวดที่ทำเสียงเป็น จิ้งหรีด
ถาดใส่เสียงเหมือน   เป็นการนำกิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสมาใช้แบบมอนเตสเชอรี่  มาปรับใช้ ที่เขย่าทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน เช่น กรวด ทราย เป็นต้น


                



           2.ทักษะ (skill)


                                                   

              - การสืบค้นหาข้อมูลในห้องสมุด ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
              - ทีสามารถนำมาปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้
    





         
 3.การนำไปใช้ (Adoption)

โดยใช้การบรรยายงานใน ( library:ห้องสมุด) ให้เกิดความคิดและกระบวนการนำไปใช้ ในการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น




 4.ประเมินการสอน

การประเมิน (Assessment)

การประเมินห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาดดี  อากาศเย็นสบาย

การประเมินตนเอง
 มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนดี  แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อบ

การประเมินเพื่อน
 ตั้งใจเรียน ฟังคำแนะนำในการทำข้อมูลเกี่ยวกับบล็อค และตั้งใจพากันหาหนังสือ

การประเมินอาจารย์
เตรียมเอกสารและแนะนำรายวิชาได้อย่างละเอียดและมีความเข้าใจง่าย  มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  










วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 2 August 18.2015

 


                           

              

                                      เด็กปฐมวัยทำไมต้องเรียนวิทยาศาสตร์?

                                                        



-เด็กจะได้รู้จักสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
-นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
-การคิดอย่างมีเหตุผล 
-คิดอย่างรอบคอบ
-เพื่อนำไปพัฒนาเพื่อพัฒนาให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติ
- เกิดการพัฒนาความคิด



1.ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

พัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Development)





การเปลี่ยนแปลงความสามารถของด็กที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนของเด็กแต่ละช่วงวัย
ความเจริญงอกงามด้านความสามารถ พัฒนามาจากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตลอดเวลาและตลอดทั้งชีวิต เพื่อให้เกิดความสมดุล  (equilibrium) การมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม


 การปฏิสัมพันธ์ ( Interaction)  กับสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 2 กระบวนการ



                  1. กระบวนการดูดซึม (assimilation)
   เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ใน    โครงสร้างของสติปัญญา โดยจะตีความหรือรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
                 2. กระบวนการปรับโครงสร้าง (accommodation)
       การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญา




                                    ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์ 
                                              แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้





            1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensori motor Stage)
            2. ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational)
                   - ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought)
                   - ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)
            3. ขั้นปฏิบัติการคิดแบบเป็นนามธรรมมากขึ้น (Concrete Operation Thought)

          การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
           - การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
           - การปรับโครงสร้างเป็นการปรับโครงสร้างความคิดเดิมให้สอดคล้องเหมาะสม


 2.ทักษะ (skill)

-การวิเคราะห์ สังเคราะห์
-การฝึกระดมความคิด 
-การยกตัวอย่าง
-ให้เขียนความหมายของพัฒนาการทางสติปัญญา มา 1 ประโยค 


3.การนำไปใช้ (Adoption)

 นำความรู้ที่ได้จากทฤษฏีไปใช้ในการพัฒนาความรู้ในลำดับต่อๆปเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กที่แตกต่างกัน 

4.ประเมินการสอน

-การบรรยาย  
-สื่อPowerpoint 
-การระดมความคิด กรณียกตัวอย่าง
-มีการแรกคำถามให้คิดอยู่ตลอดเวลา
-ตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นความรู้ของนักศึกษา
-แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนพัฒนาการทางสติปัญญาตามความเข้าใจ



การประเมิน (Assessment)

การประเมินสภาพห้องเรียน

-ห้องเรียนสะอาด 
-บรรยากาศน่าเรียน
-Gทคโนโลยีภายในห้องใช้งานได้สะดวก

การประเมินตนเอง

 -มาเรียนตรงเวลา 
-แต่งกายถูกระเบียบ
-เตรียมตัวมาเรียนเป็นอย่างดี

การประเมินเพื่อน

 ตั้งใจเรียน และช่วยกันตอบคำถาม

การประเมินอาจารย์

เตรียมเอกสารและแนะนำรายวิชาได้อย่างละเอียดและมีความเข้าใจง่าย  มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  






  



วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 1 August 11.2015

    



                        


1.เนื้อหา
 -แนะนำรายวิชา
-บอกรายละเอียดการเขียนอนุทิน
-แนะนำการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เกณฑ์ในการให้คะแนน


2.ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

-การคิด
-ฝึกการคิดการวิเคระห์
-ฝึกการคิดแบบสังเคระห์
-การคิดแบบมีความคิดสร้างสรรค์
-การสื่อสาร
-วิธิการจัดการเรียนรู้
-วิธิคิดที่สามารถนำไปใช้ในการจะเขียนแผน


3.การนำไปใช้ (Applications)

-วิธีคิดในการออกแบบการจัดเนื้อหาการสอน
-วิเคระห์และการออกแบบสื่อ
-การเขียนแผน


4.วิธีการสอน (technique) 

-ฝึกการคิดแบบถามตอบ และการแสดงความคิดเห็น
-ฝึกการคิดแบบการวิเคระห์และ สังเคระห์
-การคิดแบบมีความคิดสร้างสรรค์
-การใช้เทคโนโลยีในการสอน

การประเมิน (Assessment)

5.ประเมินการสอน

สอนโดยใช้การบรรยาย เพาเวอพ้อย และมีการแรกคำถามให้คิดอยู่ตลอดเวลา


การประเมินสภาพห้องเรียน
-ห้องเรียนสะอาด
- บรรยากาศน่าเรียน
 -อุปกรณ์การเรียนสะดวก

การประเมินตนเอง

-มาเรียนตรงเวลา
-แต่งกายถูกระเบียบ
-เตรียมตัวพร้อมในการมาเรียน

การประเมินเพื่อน

มาเรียนตรงเวลา
-ตั้งใจเรียน
-และช่วยกันตอบคำถามได้ดี

การประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการเตรียมตัวมาอย่างดี เตรียมเอกสารและแนะนำรายวิชาได้อย่างละเอียดและมีความเข้าใจง่าย มีเทคนิคในการคิดสรุปและอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  พูดจาไพเราะน่าฟัง







วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย






         วิจัยเรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ปริญญานิพนธ์ของสุมาลี หมวดไธสง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พฤษภาคม 2554



ที่มา

เด็กเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าในการพัฒนาประเทศ
ซึ่งการพัฒนาในวัยเด็กจะเป็นพื้นฐานอันมั่นคงต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กปฐมวัย
เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ จะมีบทบาทสำคัญยิ่งเพราะ วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่ออำนวยความสะดวก
ในชีวิตการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนเป็นการส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวล้วน ประกอบด้วยความคิดรวมยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยอาศัย
การสังเกตการทดลองและการตั้งคำถามประสบการณ์ ทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้รับจากกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็กด้วยเหตุผลดังกล่าว
และความสำคัญดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจวิธีการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเพื่อมุ่งให้เด็กได้ทดลองลงมือปฏิบัติด้วยตนเองรู้จักการคิดวิเคราะห์การแยกแยะ ความมุ่งหมาย
1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน 2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน 2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน 2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.1 การจัดหมด 2.2 การหาความสัมพันธ์






จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้
1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้นโดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย 
2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแกสัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ



สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          

        

           สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 

5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล

โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์


                                               5 แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล

  วิทยาศาสตร์ คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวที่จะติดตัวกับมนุษย์มาตั้งแต่เกิดเห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มี่ความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตชักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเด็กๆเจอ

     สืบเสาะความรู้ทางวิทยศาสตร์สำหรับเด็ก อันประกอบแนวทางการปฎิบัติ 5 ข้อดังนี้

1.ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวหรือโลกของเรา
2.ออกไปหาคำตอบด้วยกัน คือการคอยช่วยจัดประสบการ์ณให้เดกตามที่เขาตั้งไว้
3.เมื่อขั้นสองสำเร็จเด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบไปตอบคำถามของเขาเอง 
4.นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อนๆ
5.การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับอธิบายทางวิทยาศาสตร์

      ไม่เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆแต่พ่อแม่เองก็มีบทบาทเช่นกัน แนวทางดีๆข้างต้นอาจจะเป็นตัวช่วยให้เด็กๆและครอบครัวในยุคต่อไปแเข้าใจ และรักในวิทยาศาสตร์ ได้ดีมากขึ้น