วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 10 october 20.2015











1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)
รายงานการวิจัย

1.นางสาว ปรางชมพู บุญชม  เลขที่ 10
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
       ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ปริญญานิพนธ์ของ เอราวรรณ ศรีจักร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    
 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
จึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่
สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยได้ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า
เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง 
ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็น
จึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์



2.นางสาว ชนากานต์ แสนสุข


การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านทักษะการสืบเสาะ 
ต้องอาศัยหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ มีการเเลกเปลี่ยน 
วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ตัวเเปรต้น แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ตัวแปรตาม การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเด็ก 
โดยการเขียนแผนให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้น

- เล่นสนุกกับน้ำ เป็นการฝึกการสังเกต การลงความเห็น สเปซกับเวลา

- เล่านิทานริมน้ำ จากนั้นให้เด็ฏมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับน้ำ
ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่มๆ แจกขวดน้ำ แชมพู หรือขวดยาสระผม ให้เด็ก 

ขวดที่ไม่มีน้ำกับขวดที่มีน้ำมีลักษณะอย่างไร
ครูแนะนำให้เด็กยืนเเถวเรียงเเต่ละกลุ่ม
 ให้เด็กที่อยู่หัวเเถวบีบขวดที่มีน้ำให้ได้ระยะทางไกลที่สุด และสลับกันทุกคน



3. เก็บตก ของ นางสาว รัตนาภรณ์  คงกะพันธ์ 

        การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิดวิจารณญาณได้
 โดยเด็๋กเป็นผู้ลงมือปฎิบัติการทดลองด้วยตนเอง 
ลักษณะกิจกรรมเด็กจะได้สังเกตวัสดุ  อุปกรณ์ วางแผนการทดลอง
 สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงและสรุปผลการทดลอง
ตามความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดการวิเคราะห์ 
การสังเคราะห์ การใช้เหตุผลและการประเมินค่า 
ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการคิดวิจารณญาณ ค
รูมีบทบาทในการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด  ขณะที่ทำกิจกรรม



ระดมความคิดในการทำ  Cooking ภายในกลุ่ม
กลุ่มดิฉันทำเรื่อง ข้าวจี่ไส้หมูหยอง





วัสถุดิบ
1.ไข่ไก่
2.หมูหยอง
3.ซอสถั่วเหลือง
4.เกลือ
5.ไม้เสียบข้าวจี่
6.น้ำตาล

วิธีทำ

1.ปั้นข้าวจี่เป็นก้อนตามชอบ  

2.ใส่ไส้หมูหยองและใช้ไม้เสียบข้าวที่ปั้นไว้จะได้ง่ายเวลาย่าง
3.ไฟตอกไข่ไก่ ตีไข่ให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำตาลและซอสปรุงรส
4.เมื่อเตาย่างได้ที่ นำข้าวปั้นขึ้นย่างไฟ
5.จากนั้นนำข้าวจี่ชุบไข่แล้วนำกลับไปปิ้งให้สุก หากใครชอบไข่หนาๆก็ชุบหลายรอบ เราชอบไข่หนาๆก็ชุบจนไข่หมด




2.skills (ทักษะ)

       อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานวิจัย แล้วอาจารย์จะเพิ่มเติม
ความรู้ให้ในวิจัยนั้นๆ
การใช้คำถามถามข้อสงสัยในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ
เพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ฝึกคิดเชื่อมโยงกิจกรรมเพื่อนำมาเขียนเป็นกระบวนการ
เพื่อให้เห็นภาพการสอนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น 
และการเชื่อมโยงการทำ cooking สู่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์



3.Apply(การประยุกต์ใช้)       

  รู้จักการวางแผนในการสอนเด็กแบบเป็นขั้นตอน
สามารถนำมายเเมบที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผน
ได้ในครั้งต่อไปนำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังวิจัยหลายๆเรื่อง
ที่เพื่อนนำเสนอไป
จัดกิจกรรมให้กับเด็กได้สิ่งที่คิดในคุกกิ้งมีประโยชน์
สามารถนำเรื่องของการทำคุกกิ้งโยงเข้าสู่วิทยาศาสตร์ได้



4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
ให้นักศึกษามีความคิดที่หลากหลาย คิดนอกกรอบ

รู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจ
เเละน่าเรียนรู้และการใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลักวิทยาศาสตร์



5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง         -มา้รียนสาย 5นาที แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน 
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนและร่วมตอบคำถาม
เพื่อน         - แต่งกายสุภาพเรียบร้อยทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็น อย่างดี

ครูผู้สอน    - แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย


ห้องเรียน    - ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน










วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู







                                                   

              รายการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ปี 2 ตอนที่1 ลม






                รายการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" เป็นรายการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นำเสนอรูปแบบแอนิเมชั่นผสมการทดลองวิทยาศา­สตร์ เพื่อปลูกฝังการเรียนรู้อย่างสนุก สร้างสรรค์ ให้เด็กและเยาวชนได้ฝึกฝน ประสบการณ์ และพัฒนาทักษะสติปัญญา ใช้ความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล รู้จักตั้งคำถาม และทำการทดลองด้วยตนเอง อีกทั้งรู้จักใช้จินตนาการ เพื่อเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การคิดค้น ทดลอง และประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ได้ในอนาคต


เริ่มต้นการประดิษฐ์คือ
เอากระดาษสีรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมาพับให้กลายเป็นสามเหลี่ยมพอเปิดออกมามันก็จะเป็นรอยคราวนี้ทำให้เป็นสามเหลี่ยมอีกด้าน 1 เปิดออกมาคราวนี้เป็นรอยแขกเอากรรไกรมาตัดตามรอยตัดไปครึ่งนึงแล้วก็หยุดไว้ตัดกระดาษให้ครบทั้ง 4 ด้าน พอเสร็จแล้วจากนั้นก็จะเจาะรูที่เราตัดไว้แล้วเจาะให้เป็น 4 รูเอาไม้จิ้มฟันจิ้มเข้าไปด้านการพับกระดาษสี่มุมเข้ามาให้มุมที่กระดาษเจาะกังจะเกิดเป็นรูปกังหังลมนั่นเอง











ตอนนี้ เรามารู้จักกับลม อะไรทำให้เกิดลม และเมื่อมีลมแล้วเกิดอะไรขึ้น


ลม หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางในแนวราบ เกิดจากการแทนที่ของอากาศ เนื่องจากอากาศในบริเวณที่ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันของความกดอากาศ อากาศบริเวณที่มีความกออากาศสูงจะเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ มวลอากาศที่เคลื่อนที่เราเรียกว่า "ลม" จึงกล่าวได้ว่า ลม เกิดจากการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำนั่นเอง โดยการเคลื่อนที่ของลมจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความกดอากาศสูง และความกดอากาศต่ำ ถ้ามีความแตกต่างกันน้อยลมที่เกิดขึ้นจะเป็นลมเอื่อย และถ้ามีความแตกต่างกันมากจะกลายเป็นพายุได้ ดังนั้นการเกิดลม เป็นปรากฏการณ์ที่อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น และอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นการหมุนเวียนของลมบนโลกเป็นกลไกในการช่วยกระจายพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ให้เฉลี่ยทั่วถึงโลก และช่วยพัดพาเอาความชุ่มชื้นจากพื้นน้ำมาสู่พื้นดินด้วย







วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 9 october 14.2015





1. Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
 

นำเสนอบทความของนางสาวสุทธิกานต์
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?

     กิจกรรม นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยทำให้เด็กได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า
โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?

     เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัยาการเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
สสวท.ได้เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ จึงจัดกิจกรรมนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยให้กับเด็กซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1. กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
2. กิจกรรม “โมบายเริงลม” พลังงานจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆ เกิดการเคลื่อนที่ ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็ก ๆ ทำโมบายที่สวยงามแล้ว นำไปแขวนในที่ที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ นอกจากนี้ในการทำโมบายจะเข้าใจหลักการสมดุลของแรงด้วย
          

  
นางสาวสุทธิณี โนนบริบูณร์
เรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง


   
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เด็กจะได้เรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งอย่างปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ผู้ปกครองยังได้ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆนอกจากสนุกสนานแล้ว เด็กยังจะได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถามการคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

นางสาวเจนจิรา เทียมนิล
เรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก(
Teaching Children about Magnetic Force)

      การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุ ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติกจะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทด ลอง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐม วัย ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐม วัย ประกอบกับคนเราได้ใช้แรงแม่เหล็กสร้างสรรค์เครื่องเล่นเครื่องใช้อย่างมากมาย






   ***
นำเสนอของเล่นของเพื่อนอีกเซ็ค***

        โดยอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่เราได้ว่ามีกลไกอย่างไรโดยอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่เราได้ว่ามีกลไกอย่างไร เเละสามารถสอนเด็กได้อย่างไรบ้าง

สิ่งที่ดิฉันได้เป็นของเล่น  คือ บอลลุน



นำเสนอ งานกลุ่มที่ได้เขียนแบบเอาไว้

ของเล่นที่นำเสนอคือ พัดลวงตา
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้  สิ่งที่เด็กได้จากการเรียนรู้ธรรมชาติสายตามนุษย์จะจดจำภาพใดภาพนึ่งหลังจากภาพนั้นหายไป 1/ 15 วินาทีหากในระยะเวลาปรากฏในภาพใหม่แทนที่ด้วย2ภาพเข้าด้วยกันมีลักษณะเคลื่อนไหวต่อเนื่องเราจะเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้

ของเล่นตามมุม สนุกหรรษาไปกับการท่องเที่ยว
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้   : แม่เหล็กจะทำให้แดงดูดหรือแรงผักแม่เหล็กต่างขั้วกันมีแรงดึงดูดครัวที่เหมือนกันจะผลักออกจากกัน

การทดลอง เป็นการทดลอง คือ เรือไม้จิ้มฟัน
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้  : ไม้จิ้มฟันที่ทาแชมพูจะทำให้แรงตึงของผิวน้ำบริเวณนั้นลดลงไม้จิ้มฟันจิ้มถูกแรงดึงของน้ำด้านตรงข้ามจึงทำให้ผู้ไปด้านตรงข้ามกับร้านสีทาแชมพูไว้ซึ่งมีความสามารถในการลดแรงตึงของผิวน้ำ



2.skills (ทักษะ)
      การใช้คำถามถามข้อสงสัยในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นฝึกคิดหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับของเล่นที่เราหยิบมาการปรับให้ของเล่นในวิทยาศาสตร์มีความยืดหยุ่นเเละเหมาะกับการเล่นได้หลากหลายรูปแบบ


3.Apply

        สามารถนำมายเเมบที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผนได้ในครั้งต่อไปนำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังโทรทัศน์ครูจากที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้เอาหลักของมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาเป็นเเนวทางในการทำของเล่นการทดลอง เเละการจัดมุมประสบการณ์ได้

4.technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

       มีความคิดที่หลากหลาย คิดนอกกรอบรู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลกวิทยาศาสตร์

5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน 
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนการตอบคำถาม

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสายบางคนและ ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ ของเล่นวิทยาศาสตร์ร่วมกันเสนอความคิดเห็นและตอบคำถามของเพื่อนอีกเซ็คหนึ่ง ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี


ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนคอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่างระหว่างนำเสนอให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน





Recorded Diary 8 october 6.2015







1.The knowledge

เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู

นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น เลขที่ 18 เรื่องกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
จัดเป็นการเล่นของเล่นโดยการทดลอง

1.เรื่องแรงโรยตัว เป็นของเล่นเกี่ยวกับการทำนักดำน้ำจากหลอดกาแฟ เมื่อบีบขวดทำให้หลอดที่มีอากาศอยู่ข้างในเข้าไปแทนที่น้ำหลอดจึงจมลง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศ + แรงดันอากาศ


2.เรื่องเลี้ยงลูกด้วยลม เป่าให้ลูกบอลลอย ใช้หลอดเป่าลมประคองวัตถ

3.ถุงพลาสติกมหัศจรรย์ ใช้ดินสอทิ่มถุงพลาสติก น้ำไม่สามารถไหลออกได้ เนื่องจากเนื้อพลาสติกเกิดการขยายตัวขึ้น

4.ความดันยกของ เราสามารถยกของต่างๆได้อย่างไร การทดลองคือ นำเอาวัตถมาวางทับุงพลาสติกจากนั้นเป่าลมเพื่อทำให้พองจึงจะสามารถทำให้วัตถุลอยขึ้นได้




นางสาว วัชรี  วงศ์สะอาด เลขที่ 17เรื่อง วัยอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว

     ครูจะพาเด็กเดินสำรวจรอบๆโรงเรียนหลังจากเลิกเเวตอนเช้า เช่น เมื่อเราเรียนเรื่องหญ้าแฝก ก็จะตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องของหญ้าแฝก หรืออาจเชิญวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้เเละเด็กก็จะได้สังเกต ทดลองด้วยตนเอง 




นางสาว ภัทรวรรณ  หนูแก้ว เลขที่ 16 เรื่อง นารีวุฒบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

         บ้านวิทยาศาสตร์น้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชังสังเกตเเละคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลโดยมีชั่วโมงการเรียนที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์สอดเเทรกอยู่ในทุกๆวันทดลองทำลงมือปฎิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยตนเองได้ โดยในทุกกิจกรรมจะมีคุณครูเป็นผู้ค่อยเสริมประสบการณ์ตอบคำถามครูให้ได้กิจกรรมในการทดลองมีหลายกิจกรรม เช่น ตัวทำละลาย ลอยนํ้าได้อย่างไรหลอดดำนํ้า จมหรือลอย เป็นต้น







แบ่งกลุ่มเพื่อจัดทำหัวข้อที่จะสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยเเบ่งตามหน่วยทั้ง 4 หน่วย

หน่วยที่ 1 ตัวเด็ก

หน่วยที่ 2 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

หน่วยที่ 3 บุคคลเเละสานที่

หน่วยที่ 4 ธรรมชาติรอบตัว

กลุ่มของดิฉันได้หน่วย  บุคลและสถานที่ เรื่องชุมชนของฉัน








2.skills (ทักษะ)

- การวิเคราะห์ สังเคราะห์
- การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อฝึกการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
- การใช้ความคิดหัวเรื่องเเละสิ่งที่สามารถสอนวิทยายาศาสตร์ให้แก่เด็กได้


3.Apply(การประยุกต์ใช้)

-นำ my mapping ที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผนได้ในครั้งต่อไป
-นำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังโทรทัศน์ครูจากที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้
-เอาหลักของมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาเป็นเเนวทางในการทำของเล่น
-การทดลอง เเละการจัดมุมประสบการณ์ได้


4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
ให้นักศึกษามีความคิดที่หลากหลายการใช้คำถามนำไปคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดนอกกรอบรู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลักวิทยาศาสตร์



5. assessment (ประเมิน)

ประเมินตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลาและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน     แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละให้ตั้งใจทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศน่าเรียน แอร์เย็น เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา 

ประเมินอาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลาเตรียมตัวมาสอนด้วยความพร้อม  อธิบายการสอนให้เกิดความเข้าใจง่ายมากขึ้น