วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 9 october 14.2015





1. Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
 

นำเสนอบทความของนางสาวสุทธิกานต์
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?

     กิจกรรม นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยทำให้เด็กได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า
โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?

     เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัยาการเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
สสวท.ได้เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ จึงจัดกิจกรรมนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยให้กับเด็กซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1. กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
2. กิจกรรม “โมบายเริงลม” พลังงานจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆ เกิดการเคลื่อนที่ ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็ก ๆ ทำโมบายที่สวยงามแล้ว นำไปแขวนในที่ที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ นอกจากนี้ในการทำโมบายจะเข้าใจหลักการสมดุลของแรงด้วย
          

  
นางสาวสุทธิณี โนนบริบูณร์
เรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง


   
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เด็กจะได้เรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งอย่างปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ผู้ปกครองยังได้ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆนอกจากสนุกสนานแล้ว เด็กยังจะได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถามการคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

นางสาวเจนจิรา เทียมนิล
เรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก(
Teaching Children about Magnetic Force)

      การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุ ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติกจะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทด ลอง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐม วัย ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐม วัย ประกอบกับคนเราได้ใช้แรงแม่เหล็กสร้างสรรค์เครื่องเล่นเครื่องใช้อย่างมากมาย






   ***
นำเสนอของเล่นของเพื่อนอีกเซ็ค***

        โดยอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่เราได้ว่ามีกลไกอย่างไรโดยอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่เราได้ว่ามีกลไกอย่างไร เเละสามารถสอนเด็กได้อย่างไรบ้าง

สิ่งที่ดิฉันได้เป็นของเล่น  คือ บอลลุน



นำเสนอ งานกลุ่มที่ได้เขียนแบบเอาไว้

ของเล่นที่นำเสนอคือ พัดลวงตา
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้  สิ่งที่เด็กได้จากการเรียนรู้ธรรมชาติสายตามนุษย์จะจดจำภาพใดภาพนึ่งหลังจากภาพนั้นหายไป 1/ 15 วินาทีหากในระยะเวลาปรากฏในภาพใหม่แทนที่ด้วย2ภาพเข้าด้วยกันมีลักษณะเคลื่อนไหวต่อเนื่องเราจะเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้

ของเล่นตามมุม สนุกหรรษาไปกับการท่องเที่ยว
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้   : แม่เหล็กจะทำให้แดงดูดหรือแรงผักแม่เหล็กต่างขั้วกันมีแรงดึงดูดครัวที่เหมือนกันจะผลักออกจากกัน

การทดลอง เป็นการทดลอง คือ เรือไม้จิ้มฟัน
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้  : ไม้จิ้มฟันที่ทาแชมพูจะทำให้แรงตึงของผิวน้ำบริเวณนั้นลดลงไม้จิ้มฟันจิ้มถูกแรงดึงของน้ำด้านตรงข้ามจึงทำให้ผู้ไปด้านตรงข้ามกับร้านสีทาแชมพูไว้ซึ่งมีความสามารถในการลดแรงตึงของผิวน้ำ



2.skills (ทักษะ)
      การใช้คำถามถามข้อสงสัยในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นฝึกคิดหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับของเล่นที่เราหยิบมาการปรับให้ของเล่นในวิทยาศาสตร์มีความยืดหยุ่นเเละเหมาะกับการเล่นได้หลากหลายรูปแบบ


3.Apply

        สามารถนำมายเเมบที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผนได้ในครั้งต่อไปนำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังโทรทัศน์ครูจากที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้เอาหลักของมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาเป็นเเนวทางในการทำของเล่นการทดลอง เเละการจัดมุมประสบการณ์ได้

4.technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

       มีความคิดที่หลากหลาย คิดนอกกรอบรู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลกวิทยาศาสตร์

5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน 
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนการตอบคำถาม

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสายบางคนและ ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ ของเล่นวิทยาศาสตร์ร่วมกันเสนอความคิดเห็นและตอบคำถามของเพื่อนอีกเซ็คหนึ่ง ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี


ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนคอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่างระหว่างนำเสนอให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น