วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 7 September 22.2015







1.The knowledge

นำเสนอวิจัยของนางสาว รัตนาภรณ์ คงกะพันธ์

เกี่ยวกับเรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร 

ของ  ผู้วิจัย เสกสรร มาตวังแสง  โดยลักษณะในการจัดกิจกรรมคือการให้เด็กได้ลงมือทำเอง 
ทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนเด็กปฐมวัย โดยผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยาง1 สัปดาหกอนการทดลอง จากนั้นนทําการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณกอนการทดลองโดยใชแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผูวิจัยสรางขึ้น นําแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนําขอมูลทที่ไดจาก

การทดสอบไปทําการวิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทางสถิต


วิจัยของนางสาว วราภรณ์ แทนคำ

เกี่ยวกับเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของผู้วิจัย จุฑามาศ เรือนกำ  เป็นการสร้างเเละการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยชุดกิจกรรมถูกสร้างขึ้นมาอย่างมีระบบ โดยใชุชุดกิจกรรมทั้งหมด 20 ชุด การจัดกิจกรรมเเละเวลาที่ใช้ก็มีความเหมาะสมเเละสอดคล้องกับวัย


วิจัยของนางสาว ยุภา ธรรมโคตร
เกี่ยวกับเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของผู้วิจัย ยุพาภรณ์ ชูสาย    จะจัดกิจกรรมแบบเป็นการทดลองเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเอง เป้นการให้อิสระแก่เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งครูคอยแนะนำและช่วยเหลือให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยการทดลอง เรื่องสีจากธรรมชาติ จะสอนในเรื่อง การสังเกต การจำแนก และการหามิติสัมพันธ์






**กิจกรรม/ Activity**


นำเสนอสื่อ เกี่ยวกับเรื่อง เงา

**กระบอกหรรษา ปริศนาพาเพลิน**

อุปกรณ์

1.แกนกระดาษทิชชู่  2.กระดาษA4 กระดาษแข็ง กระดาษสี 3.ไฟฉาย 4.กรรไกร
5. มีดคัตเตอร์ 6.สีตกแต่ง




ขั้นตอนการทำ

1. วาดภาพใส่กระดาษแข็งตามจินตนาการที่ตนเองชอบ



ตัดรูปตามที่วาด





2.เจาะตรงปลายของแกนทิชชู่





3.นั้นนำภาพที่วาดที่เตรียมไว้มาใส่ในช่องของแกนกระดาษทิชชู่ที่เจาะไว้ พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม







4.จากนั้นนำไฟฉายมาส่องแกนกระดาษทิชชู่ จะทำให้เกิดเงา







**วิธีการเล่น**

นำแกนขนาดทิชชู่ของเรา และนำแผ่นภาพที่เตรียมไปสอดในช่องจากนั้นของแกนกระดาษทิชชู่ปิดไฟให้มืดหรือเล่นบริเวณมีแสงแดดส่อง และนำไฟฉายมาส่องภาพจะทำให้เกิดเงาของภาพตามที่เราวาดไว้และ เรานำประโยชน์จากเงามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่านิทาน หนังตะลุง เป็นต้น

ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์
การเคลื่อนที่ของแสงและการเกิดเงา
การเกิดเงา
เมื่อเมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุ







เมื่อแสงตกกระทบวัตถุที่ทึบแสง จะเกิดเงาที่ด้านหลังวัตถุเสมอ โดยเงาที่เกิดขึ้นอาจจะมีทั้งเงามืดหรือเงามัว จะขึ้นอยู่กับ ขนาดของแหล่งกำเนิดแสง ขนาดของวัตถุ ระยะห่างระหว่างวัตถุกับแหล่งกำเนิดแสง
การเกิดเงาเมื่อแหล่งกำเนิดแสงเป็นจุด



2.skills (ทักษะ)

- การใช้คำถามเพื่อที่เราจะได้เข้าใจในวิจัยที่เพื่อนำเสนอ
- การใช้ความคิดการนำเสนอสื่อให้เพื่ิอนเกิดความเข้าใจ และเทคนิคต่างๆในการนำเสนอผลงานของตนเอง
- การระดมความคิดและแสดงความคิดเห็น



3.Apply(การประยุกต์ใช้)

สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่เพื่อนๆนำมาเสนอไปใช้ในการสอนเด็ก
นำสิ่งประดิษฐ์ที่เราทำไปประยุกต์ใช้หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหน่วยต่างๆทางวิทยาศาสตร์



4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
การคิดนอกกรอบให้มีความคิดจินตนาการที่หลากหลายรู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลกวิทยาศาสตร์
ไปประยุกต์ใช้หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหน่วยต่างๆทางวิทยาศาสตร์ในอนาคตได้



5. assessment (ประเมิน)

ประเมินตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลาเตรียมตัวพร้อมที่จะออกไปเสนอของเล่นของตนเองและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน     แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละให้ความสนใจกับเพื่อนที่ออกมานำเสนอของเล่น และตั้งใจดู

ประเมินห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศน่าเรียน แอร์เย็น เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา เเต่มีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้

ประเมินอาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลาเตรียมตัวมาสอนด้วยความพร้อม ให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนได้คิดให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน











วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 6 September 15.2015








1.The knowledge ความรู้ที่ได้รับ

-เรื่องการทำงานของสมอง

-แนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์

-ฟังบทความจากเพื่อนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์





                                                          
เรื่องการทำงานของสมอง















หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย  จะต้องพัฒนาเด็กให้ครบทุกัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดลยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชมชน





การเรียนรู้แบบองค์รวม





ความสำคัญของวิทยาศาสตร์


-ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก



-พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์



-เสริมสร้างประสบการณ์













ประโยชน์ของการเรียนวิทยาศาสตร์

-พัฒนาความคิดรวบยอด
-พัฒนาทีกษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์









แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

      
- การเปลี่ยนแปลง
- ความแตกต่าง
- การปรับตัว
- ความสมดุล
- การพึ่งพาอาศัยกัน



  





เจตคติทางวิทยาศาสตร์

ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเพียรพยายาม
- ความมีเหตุผล
- ความซื่อสัตย์
- ความมีระเบียบและรอบคอบ
- ความใจกว้าง









การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อสรุป

*** นำเสนอบทความ ***
ของนางสาว สุจิตรา มาวงษ์ 
เรื่องแนวทางสอนคิดเติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล

เน้นการเรียนรู้เเบบองค์รวม แนวทางการปฎิบัติที่จะเรียนรู้

1.การตั้งคำถาม

2.ตอบคำถามด้วยตนเอง โดยครูจัดประสบการณ์ให้

3.สิ่งที่เด็กค้นพบมาเเล้วครูช่วยเสริมคำตอบให้สมบูรณ์

4.เล่าให้เพื่อนฟัง

5.นำไปเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์


นางสาว ประภัสสร สีหบุตร
เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไปเด็ก ๆ 
ใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สอดแทรกเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องใกล้ตัวเเละเด็กสนใจ เช่นนิทานเรื่อง เรียนรู้สัตว์น่ารัก เกี่ยวกับชนิด ลักษณะ เป็นต้น โดยอาจมีสิ่งของมาประกอบ เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้ว วาดไปเล่าไป หรืออาจนำของจริงมาประกอบการเล่า

  ประโยชน์ที่ได้รับ

- เข้าใจ รับรู้อย่างมีเหตุผล
- สนุกสานเเละเพลิดเพลิน















   
2.ทักษะ (skill)

 -นำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
- การฝึกคิดจินตนาการสิ่งที่จะประดิษฐ์เพื่อให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์

-การทำงานของสมองจัดลำดับอายุจะทำให้เกิด " พัฒนาการ " แต่ละช่วงวัย

 3.การนำไปใช้ (Adoption)

-การนำความรู้ที่ได้มาเป็นพื้นฐานในการคิดสิ่งประดิษฐ์
ให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์

-การคิดประดิษฐ์ของเล่นเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

-นำไปใช้ในเวลาจะออกแบบการสอนและการเขียนแผน

4.ประเมินการสอน

การประเมิน (Assessment)

การประเมินตนเอง

 ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย
 
มีส่วนร่วมในการตอบคำถา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน

การประเมินเพื่อน

  แต่งกายเรียบร้อย  การทำกิจกรรมและการแสดงความคิดเห็น แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบเรียบร้อย 
 มีการตอบคำถามและระดมความคิดช่วยกัน ทำให้บรรยากาศภายในห้องน่ารียน

  การประเมินผู้สอน 

 
 อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย มีการเตรียมตัวมาสอนและมีการใช้คำถาม ถามกับนักศึกษาเสมอเพื่อให้นักศึกษามีโอกาสได้คิดคำตอบ  และอาจารย์จะมีการเสริมความรู้ให้ทุกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาเข้ามากยิ่งขึ้น

การประเมินห้องเรียน 

บรรยากาศภายในห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์และสื่อไม่ชำรุด  โต๊ะเพียงพอต่อผู้เรียน












วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 5 September 8.2015




1.The knowledge ความรู้ที่ได้รับ


ทบทวนความรู้ที่ได้จากใบความรู้ในสัปดาห์ที่แล้ว ที่ทำงานเป็๋นคู่ เช่น เรื่อง เสียง สัตว์ ลม  น้ำ ขั้นอนุรักษ์ คือ ขั้นที่เด็กตอบตามที่เห็น

-การพับกระดาษเพียงหนึ่งเเผ่น 

-เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องของวิทยาศาสตร์ 

-การนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่ได้จากการพับกระดาษ

ยกตัวอย่างเช่น โทรโข่ง 
สอนเรื่องเสียง สื่อที่ใช้ นำกระดาษมาทำโทรโข่ง





                                                      *** โทรโข่ง ***

       เครื่องมือสำหรับส่งเสียงพูดของบุคคลให้ไปยังทิศทางของเป้าหมาย ซึ่งมีรูปร่างคล้าย
กรวยด้วยเหตุที่ว่าเสียงพูดของมนุษย์กระจายไปในทุกทิศทางในอากาศ จึงต้องส่งเสียงด้วยโทรโข่งเพื่อบังคับให้เสียงถูกส่งไปยังเป้าหมายให้ผู้ฟังได้ยินชัดเจนขึ้น โดยคลื่นเสียงในอากาศจะแทรกสอดกันภายในกรวยทำให้เสียงก้องขึ้น สามารถขยายเสียงพูดให้ดังขึ้นได้ หรือใช้ติดตั้งบนที่สูงสำหรับการกระจายเสียง









2.ทักษะ (Skill)

 ออกแบบสื่อโดยอย่างอิสระให้นักศึกษาร่วมกันอธิบายความเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิทยาศาตร์
 การที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง การฝึกคิดจินตนาการสิ่งที่จะประดิษฐ์ว่า จะประดิษฐ์อะไรเพื่อให้     สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ได้ทดลองว่าสิ่งที่คิดที่พูดนั้นเป็นจริงหรือไม่สอนให้รู้จักการศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเองและอาจารย์คอยให้ความรู้เพิ่มเติม


3.การนำไปใช้ (Application)

 
นำไปใช้ในเวลาจะออกแบบการสอนและการเขียนแผน และนำไปพัฒนาด้านสติปัญญาทางวิทยาศาสตร์ของเด็กให้ดียิ่งขึ้น
และวางแผนมาอย่างระบบในการที่จะสอนในแต่ละครั้ง




4.ประเมินการสอน

การประเมิน (Assessment)

การประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย 

มีส่วนร่วมในการตอบคำถา ต้องหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดจินตนาการละความคิดสร้างสรรค์มากกว่านี้

การประเมินเพื่อน

แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย การทำกิจกรรมและการแสดงความคิดเห็น แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบเรียบร้อย


การประเมินผู้สอน 

อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย มีการเตรียมตัวมาสอนเป็นอย่างเกี่ยวกับกิจกรรมที่มอบหมายมีการเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและใด้แสดงความสามารถออกมา และอาจารย์ยังคอยช่วยสอนและให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานที่ทำออกมาแต่ละสื่อ

การประเมินห้องเรียน 

 ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การเรียนสะดวกต่อการใช้สอย โต๊ะเพียงพอต่อผู้เรียน