(บันทึกครั้งที่ 14)
1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)
** ทำกิจกรรม cooking **
1.ข้าวจี่
อุปกรณ์ ( Equipment )
- ข้าวเหนียว (rice)
- ไข่ไก่ (egg)
- ไก่หยอง
- ซอสปรุงรส
- ไม้เสียบข้าวจี่
- ถ้วย ( Cup )
- จาน ( Stove )
1.นำข้าวเหนี่ยวมาใส่ไส้จากนั้นก็ปั้นให้เป็นก้อนกลมๆ
เเล้วใช้ไม้ตะเกียบเสียบเข้าไปตรงกลาง
2.จากนั้นนำไปย่างบนเตาเมื่อสีข้าวเริ่มเปลี่ยน
3.นำไปชุปกับไข่เเล้วนำมาย่างอีกทีเพื่อให้ไข่สุก
4.ข้าวจี่สุกเหลืองกลิ่นหอมสีสันน่ารับประทาน
กระบวนการทางวิทยาศาตร์
1.กำหนดปัญหา เด็กคิดว่าทำยังไงให้ไข่สุกเเละทานได้
2.สมมติฐาน ถ้าครูเอาข้าวเหนียวไปย่างบนเตาจะเกิดอะไรขึ้นคะ
3.จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตเเละลงมือทำ
4.ข้าวจี่เหมาะสำหรับการทำเป็นฐาน
2.ขนมโค
อุปกรณ์ ( Equipment )
- แป้งข้าวเหนียว
- น้ำเปล่า
- น้ำตาลแว่น หรือไส้
- มะพร้าวทึกขูด
- หม้อต้ม
- สีผสมอาหาร
ขั้นตอนการทำขนมโค
1.ตักแป้งใส่ถ้วย 3 ช้อนโต้ะ จากนั้นเทสีผสมอาหาร
จากนั้นคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน
2.นำไส้มาใส่โดยไส้ที่เตรียมไว้มีทั้ง น้ำตาลก้อน ไส้เค็มและไส้หวาน
3ไส้เสร็จก็ปั้นเป็นก้อนกลมๆ เเละนำไปสู่ขั้นตอนต้ม
โดยใส่ลงไปในหม้อที่น้ำเดือด
4 เมื่อเวลาผ่านไปก้อนเเป้งก็จะลอยขึ้นมาเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าขนมสุกเเล้ว
พร้อมโรยมะข้าวเป็นอันเสร็จสิ้นน่ารับประทาน
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- กำหนดปัญหาว่า เด็กคิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้กินขนมโค
- สมมติฐาน เมื่อนำขนมที่ปั้นเป็นก้อนกลมๆเเล้วเอาลงไปในน้ำเดือดๆเด็กคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ
- จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตเเละลงมือปฎิบัติ
- ขนมโคเหมาะสำหรับการทำเป็นฐาน
3.หวานเย็นชื่นใจ
อุปกรณ์ ( Equipment )
- น้ำแข็ง
- น้ำหวานเฮลบลูบอย / น้ำส้ม / น้ำเขียว
- นมข้น
- เกลือ
- ไม้พายสำหรับคน
- กาละมังเล็ก
ขั้นตอนการทำ
1.ตักน้ำเเข็งใส่กาละมังใหญ่พอสมควรเเละเติมเกลือลงไป
จากนั้นถ้วยเล็กก็ใส่น้ำหวาน
2.เขย่าไปกันคนละทางบนถ้วยน้ำเเข็งพร้อมทั้งคนไปทิศทางเดียวกัน
3.เวลาผ่านไปน้ำหวานที่เหลวๆก็จะ
ค่อยๆเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำเเข็งเเละจับตัวกันเป็นเหมือนน้ำเเข็งไสสีสันน่าทาน
ค่อยๆเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำเเข็งเเละจับตัวกันเป็นเหมือนน้ำเเข็งไสสีสันน่าทาน
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- กำหนดปัญหา เด็กทำยังไงถึงจะเป็นหวานเย็นได้คะ
- สมมติฐาน ถ้าครูเขย่าน้ำหวานไปมาบนน้ำเเข็งเด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ
- จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตเเละลงมือปฎิบัติ
- หวานเย็นเหมาะสำหรับการทำเป็นกลุ่ม
นางสาวกมลรัตน์ มาลัย นำเสนอโทรทัศน์ครู
เรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร
เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การวิเคราะห์ การสื่อความหมาย การตั้งสมมติฐาน โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง ให้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กทดลองเพื่อหาว่าอะไรลอยได้บ้าง
2.skills (ทักษะ)
1. ทักษะที่ได้รับการสังเกต เด็กได้สังเกตว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง
สังเกตการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับสีของข้าว
การเปลี่ยนเเปลงของหวานเย็น การเปลี่ยนแปลงของขนมโค
2.การจำเเนก เปรียบเทียบ
3.การวัด เด็กได้รู้จักการตวงส่วนผสมควรใช้สัดส่วนเท่าไหร่
4.การลงความเห็น เด็กชอบสีหวานเย็นสีไหนมากที่สุด ชอบกินขนมโคไส้ไหนมากที่สุด
ชอบกินข้าวจี่เเบบใส่ไส้หรือไม่ใส่ไส้มากกว่ากัน
5.มิติสัมพันธ์ คำนวนเวลาว่าควรใช้เวลาเท่าไหร่ข้าวจี่เเละขนมโคถึงจะสุกเเล้วน่าทาน
เเละเขย่าน้ำหวานนานเเค่ไหนถึงจะเป็นหวานเย็น
6.การคำนวน คำเวลาว่าควรจะกลับด้านวลาไหน ปิ้งเเต่ละข้างนานเท่าไหร่
technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
1.เกิดได้ลงมือทำด้วยตนเอง เช่น การตักส่วนผสม
2.การเเก้ปัญหาด้วยตนเอง ว่าควรจะมีวิธีการอย่างไรให้ได้ข้าวจี่ ขนมโค หวานเย็น
3. เกิดความรสชาติที่อร่อยและรูปร่างสวยงาม
ฝึกได้เด็กรู้จักการสังเกตจากเพื่อนว่าเพื่อนทำอย่างไรเเละนำมาปรับปรุงของตนเอง
5. assessment (ประเมิน)
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจทำคือการจัดกิจกรรม
การทำCookingมีวิธีการทำไม่ยุ่งยากเเละไม่สับซ้อนเหมาะกับไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้
เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี สนุกสนานกันในการเรียนวิชานี้
อาจารย์ : อาจารย์ติดธุระทางสาขา การเเต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอนทำCooking มีการเตรียมอุปกรณ์ที่พร้อมเเละเพียงพอขณะที่ทำกิจกรรมด้วย วันนี้นักศึกษาและอาจารย์รู้สึกสนุกสนานในการทำกิจกรรม
ห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น